วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556

คำซ้ำ

         คำซ้ำ คือ คำที่สร้างจากคำมูล โดยนำคำคำเดียวกันมากล่าวซ้ำ มีความหมายเปลี่ยนแปลงไป อาจเน้นหนักขึ้น เบาลง หรืออาจเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น

ลักษณะของคำซ้ำ

                คำซ้ำมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

                ๑.  เป็นคำชนิดใดหรือทำหน้าที่ใดก็ได้ เช่น นาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ เป็นต้น

                ๒.  นำคำหนึ่งๆ มาซ้ำกันสองครั้ง เช่น เด็กๆ เล็กๆ เล่นๆ

                ๓.  นำคำซ้อนมาแยกซ้ำกัน เช่น

                                ลูบคลำ                  เป็น        ลูบๆคลำๆ

                                เปรอะเปื้อน           เป็น        เปรอะๆ เปื้อน

                                นุ่มนิ่ม                    เป็น        อดๆอยากๆ






               ๔.  นำคำซ้ำมาประสมกัน เช่น


                                งูๆ ปลาๆ              ไปๆมาๆ

                                ชั่วๆดีๆ                  ลมๆแล้งๆ

                ๕.  นำคำซ้ำมาเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ เพื่อเน้นความหมาย เช่น ดี๊ดี เบื๊อเบื่อ ดีใจ๊ดีใจ
ความหมายของคำซ้ำ


การซ้ำคำทำให้เกิดความหมายแตกต่างไปจากคำเดิม ดังนี้

                ๑.  บอกพหูพจน์  คำเดิมอาจเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์  กลายเป็นพหูพจน์อย่างเดียว เช่น

                                เขาเล่นกับเพื่อน                  (เอกพจน์หรือพหูพจน์)
                                เขาเล่นกับเพื่อนๆ               (พหูพจน์)

                                พี่อยู่ในห้อง                          (เอกพจน์หรือพหูพจน์)

                                พี่ๆ อยู่ในห้อง                      (พหูพจน์)

                เด็กกำลังเล่นฟุตบอล              (เอกพจน์หรือพหูพจน์)

                เด็กๆ กำลังเล่นฟุตบอล           (พหูพจน์)
  ๒.  บอกความเน้นหนัก  วิเศษณ์บางคำเมื่อเป็นคำซ้ำมีความหมายเน้นหนักกว่าเดิม โดยมากเปลี่ยนเสียงคำแรกเป็นเสียงตรี

                                สวยๆ                     เป็น                        ซ้วยสวย

                                ดีๆ                          เป็น                        ดี๊ดี

                                ใหญ่ๆ                    เป็น                        ไย้ใหญ่

                                แดงๆ                     เป็น                        แด๊งแดง

                                เค็มๆ                      เป็น                        เค้มเค็ม

๓.  บอกความไม่เน้นหนัก  วิเศษณ์บางคำเมื่อเป็นคำซ้ำความหมายคลายความเน้นหนักกว่าเดิมหรือไม่จงใจ คำซ้ำประเภทนี้ไม่เปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ของคำแรก เช่น

                                ใกล้ (ใกล้จริง)                      ใกล้ๆ (ไม่ใกล้ทีเดียว)            

                                สวย (สวยจริง)                     สวยๆ (ไม่สวยที่เดียว)

                                ดี (ดีจริง)                               ดีๆ (ไม่ดีทีเดียว)

                                ใหญ่ (ใหญ่จริง)                  ใหญ่ๆ (ไม่ใหญ่ที่เดียว)

                                อยู่ให้เขาเห็นหน้า (อยู่จริง) อยู่ๆ (อยู่โดยไม่จงใจ)

                                พอเห็นอยู่ (เห็นจริง)         เห็นๆ (เห็นไม่ชัดเจน)

๔.  บอกคำสั่ง  วิเศษณ์ที่เป็นคำซ้ำเมื่อประกอบกริยา จะเน้นความและบอกคำสั่ง เช่น

                                อยู่เงียบ (วลี)                        อยู่เงียบๆ (ประโยคคำสั่ง)

                                พูดดัง (วลี)                           พูดดังๆ (ประโยคคำสั่ง)

                                ทำดี (วลี)                               ทำดีๆ (ประโยคคำสั่ง)

                                เดินเบา (วลี)                         เดินเบาๆ (ประโยคคำสั่ง)

                                ออกห่าง (วลี)                       ออกห่างงๆ (ประโยคคำสั่ง)

๕.  เปลี่ยนความหมายใหม่  คำซ้ำบางคำเปลี่ยนความหมายใหม่โดยไม่มีเค้าของความหมายเดิม เช่น

                                กล้วย ๆ (ง่าย)                      น้องๆ (เกือบ,ใกล้,คล้าย)

                                หมูๆ (ง่าย)                           ไล่ (ใกล้เคียง)

                                พื้นๆ (ธรรมดา)                   พลางๆ (ช่วงระหว่างเวลาที่ยังไม่พร้อมหรือยังไม่ถึงกำหนด)

                                ไปๆ (นานไป)                     ไปๆ มาๆ (ในที่สุด)

                                งูๆ ปลาๆ (รู้เพียงเล็กๆ น้อยๆ)        ดีๆ ชั่วๆ (อย่างไรก็ตาม)

๖.  แยกคำซ้อมาเป็นคำซ้ำ  คำซ้ำบางคำเกิดจากการแยกคำซ้อนมาเป็นซ้ำกัน เช่น

                                จืดชืด                     เป็น        จืดๆ ชืดๆ

                                พี้น้อง                    เป็น        พี่ๆ น้องๆ

                                จริงจัง                    เป็น       จริงๆ  จังๆ

     

หมายเหตุ  คำที่ออกเสียงซ้ำกันบางคำไม่ชาคำซ้ำ เพราะไม่ได้เกิดคำขึ้นใหม่และความหมายก็ไม่เปลี่ยนไป ในกรณีเช่นนี้ใช้ไม้ยมกแทนไม่ได้ เช่น
                เขาเอาแต่เล่นเล่นจนลืมกินข้าวกินปลา          เล่นเล่น  ไม่ใช่คำซ้ำ
                เขาเอาแต่ซนซนตลอดวัน                             ซนซน  ไม่ใช่คำซ้ำ
                เขาเอาแต่เล่นๆ ซนๆ ไปวันหนึ่งๆ                  เล่นๆ ซนๆ เป็นคำซ้ำ
                เราควรเก็บของไว้เป็นที่ๆ                               ที่ๆ เป็นคำซ้ำ
                เขาออกกำลังกายทุกวันวันละครึ่งชั่วโมง       วันวัน ไม่ใช้คำซ้ำ
                เขาอกกำลังกายเป็นวันๆ                                 วันๆ เป็นคำซ้ำ
                คำบางคำเป็นคำซ้ำได้อย่างเดียว เช่น โทงๆ ยองๆ หยิมๆ หยกๆ เหนาะๆ
                คำมูลบางคำมีเสียงพยางค์ซ้ำกันแต่ไม่ใช่คำซ้ำ เช่น จะจะ  ชะชะ  ชิชิ  นานา  ไยไย
   
   สรุป
                คำที่ใช้ในภาษาไทย   มีลักษณะและวิธีการสร้างคำหลายแบบ ได้แก่ คำที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะ คือ คำมูล และคำที่สร้างขึ้นใหม่จากคำมูล เช่น คำประสม คำซ้ำ คำซ้อน คำสมาส เป็นต้น การที่เราสร้างคำเพิ่มขึ้นด้วยวิธีการต่างๆ เหล่านี้ ก็เพื่อให้มีถ้อยคำใช้ในภาไทยมากขึ้น









               

คำซ้อน


คำซ้อน คือ คำสร้างขึ้นใหม่จากคำมูล โดยนำคำที่มีความหมายเหมือนกัน ใกล้เคียงกันหรือตรงข้ามกัน มาวางซ้อนกัน เกิดเป็นคำใหม่ มีความหมายใหม่หรือมีความหมายชัดเจนขึ้น

ลักษณะของคำซ้อน

๑.  เกิดจากคำมูลที่มีความหมายอย่างเดียวกันหรือทำนองเดียวกัน ส่วนมากความหมายอยู่ที่คำมูลคำใดคำหนึ่งคำเดียว เช่น

กีดกัน     หมายถึงอยู่ที่        กัน

เนื้อตัว    หมายถึงอยู่ที่        ตัว

หน้าตา   หมายถึงอยู่ที่        หน้า

ปากคอ   หมายถึงอยู่ที่        ปาก



๒.  เกิดจากคำมูลที่มีความหมายอย่างเดียวกันหรือทำนองเดียวกัน โดยความหมายอยู่ที่คำมูลคำหน้าหรือคำหลังคำใดคำหนึ่ง เช่น
รากฐาน                 หมายถึงอยู่ที่        ราก หรือ ฐาน
บ้านเรือน              หมายถึงอยู่ที่        บ้าน หรือ เรือน
รูปร่าง                    หมายถึงอยู่ที่        รูป หรือ ร่าง
เขตแดน                หมายถึงอยู่ที่        เขต หรือ แดน
๓. เกิดจากคำมูลที่มีความหมายอย่างเดียวกันหรือทำนองเดียวกัน แต่คำหนึ่งเป็นคำภาษาถิ่นความหมานอยู่ที่คำภาษากลางหรือภาษามาตรฐาน  เช่น
                เสื่อสาด   สาด  เป็นคำภาษาถิ่น (เหนือ อีสาน ใต้)  หมายถึง เสื่อ
                ทองคำ   คำ   เป็นคำภาษาถิ่น (เหนือ อีสาน )  หมายถึง  ทอง
                อ้วนพี    พี    เป็นคำภาษาถิ่น  (อีสาน ใต้)  หมายถึง อ้วน
                ข่มเหง   เหง  เป็นคำภาษาถิ่น (ใต้) ทับ หรือ ข่ม
๔.  เกิดจากคำมูลที่มีความหมายอย่างเดียวหรือทำนองเดียวกัน แต่คำหนึ่งเป็นคำภาษาต่างประเทศ ความหมายอยู่ที่คำไทย เช่น
                สร้างสรรค์  สรรค์  เป็นคำภาษาสันสกฤต  หมายถึง  สร้าง
                พงไพร  ไพร  เป็นคำภาษาเขมร  หมายถึง พง
                แบบฟอร์ม  ฟอร์ม  เป็นคำภาษาอังกฤษ  หมายถึง  แบบ
๕.  เกิดจากคำมูลที่มีความหมายทำนองเดียวกัน มีความหมายใหม่กว้างกว่าคำมูลเดิม อาจมีสัมผัสระหว่างคำก็ได้
                พี่น้อง  ไม่ได้หมายเฉพาะพี่กับน้อง แต่รวมถึงญาติทั้งหมด
                ลูกหลาน  ไม่ได้หมายเฉพาะลูกกับหลาน  แต่รวมถึงญาติทั้งหมด
                ข้าวปลา  ไม่ได้หมายเฉพาะข้าวกับปลา แต่รวมถึงอาหารทั่วไป
                ถ้วยชามรามไห  ถ้วยโถโอชาม  หมายถึง  ภาชนะใส่อาหาร
                ผลหมากรากไม้  ส้มสูกลูกไม้  หมายถึง  ผลไม้
                หมูเห็ดเป็ดไก่  หมายถึง   อาหารจำพวกเนื้อสัตว์
                เรือกสวนไร่นา  หมายถึง  ที่สำหรับเพาะปลูกพืช
๖.  เกิดจากคำมูลที่มีความหมายอย่างเดียวกันหรือทำนองเดียวกัน เกิดความหมายใหม่แต่มีเค้าความหมายของคำมูลเดิมเช่นเดียวกับคำประสม
                ถากถาง                  หมายถึง                                พูดเสียดแทง
                ดูแล                        หมายถึง                                เอาใจใส่
                เดือนร้อน              หมายถึง                                เป็นทุกข์
                อ่อนน้อม              หมายถึง                                แสดงกิริยาวาจานบนอบ
               ๗.  เกิดจากคำมูลที่มีความหมายทำนองเดียวกัน ความหมายอยู่ที่คำต้นกับคำท้าย ส่วนมากมีสัมผัสระหว่างคำ เช่น
                เคราะห์หามยามร้าย           หมายถึง                                  เคราะห์ร้าย
                ฤกษ์งามยามดี                      หมายถึง                                ฤกษ์ดี
                ยากดีมีจน                              หมายถึง                                ยากจน
๘.  เกิดจากคำมูลที่มีความหมายตรงกันข้าม เกิดความหมายใหม่ ซึ่งเป็นความหมายกว้าง เช่น
                สูงต่ำ                           หมายถึง                          ระดับความสูงของสิ่งต่างๆ
                มากน้อย                     หมายถึง                          ปริมารของสิ่งต่างๆ
                เร็วช้า                           หมายถึง                        อัตราความเร็ว
                ถูกแพง                        หมายถึง                        ราคา
                เปรี้ยวหวานมันเค็ม  หมายถึง                          รสอาหาร
๙.  เกิดจากคำมูลหรือพยางค์ที่มีพยัญชนะอย่างเดียวกัน สระหรือตัวสะกดอาจเหมือนกันหรือต่างกันก็ได้  คำมูลหรือพยางค์ที่นำมาประกอบกันอาจมีความหมายหรือไม่มีก็ได้  แต่เมื่อเป็นคำซ้อนแล้วจะต้องมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น
เงอะงะ                  งะ           ไม่มีความหมาย
เฉไฉ                      ไฉ           ไม่มีความหมาย
โจ๋งเจ๋ง                   แต่ละพยางค์ไม่มีความหมาย
เลิ่งลั่ก                    แต่ละพยางค์ไม่มีความหมาย
โกร๋งเกร๋ง              แต่ละพยางค์ไม่มีความหมาย
อะลุ้มอล่วย           แต่ละพยางค์ไม่มีความหมาย
เข้าร่องเข้ารอย    แต่ละพยางค์มีความหมาย
เข้ารูปเข้ารอย     แต่ละพยางค์มีความหมาย
คาราคาซัง         แต่ละพยางค์มีความหมาย
คาหนังคาเขา     แต่ละพยางค์มีความหมาย
ชนิดของคำซ้อน
คำซ้อนแบ่งออกเป็น๒ชนิดคือ
๑.คำซ้อนเพื่อความหมาย   เกิดจากคำมูลที่มีความหมายอย่างเดียวกันใกล้เคียงกัน   หรือ
ตรงกันข้ามมารวมกัน
     ๑.ความหมายอย่างเดียวกัน    เช่น   เติบโต     อ้วนพี   มากมาย   ทรัพย์สิน    ข้าทาส    สูญหาย   โง่เขลา
๒.ความหมายใกล้เคียงกัน   เช่น    เรือแพ      หน้าตา    คัดเลือก     ข้าวปลา  เสื้อผ้า
๓.ความหมายตรงกันข้าม เช่น เท็จจริง ผิดชอบ ดีร้าย
๒.  คำซ้อนเพื่อเสียง  เกิดจากการนำคำที่มีเสียงคลึงกันมาซ้อนเพื่อให้ออกเสียงง่ายขึ้นมีเสียงคล้องจองกัน เกิดความไพเราะขึ้น เช่น
เกะกะ                    ขรุขระ                    เก้งก้าง                 โผงผาง
โอนเอน                ตุกติก                     จู้จี้                           ตูมตาม
อ้างว้าง                  ราบคาบ                 ออมชอม
ความหมายของคำซ้อน
การนำคำมารวมกันจนเกิดเป็นคำซ้อน คำใหม่ที่เกิดขึ้นอาจมีความหมายลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังนี้
 
๑.  มีความหมายชัดเจนหรือหนักแน่นขึ้น เช่น
                ใหญ่โต                  หมายถึง                                ใหญ่มาก
                ทรัพย์สิน               หมายถึง                                ของมีค่าทั้งหมด
๒.  มีความหมายกว้างขึ้น เช่น
                พี่น้อง                    หมายถึง                                ญาติทั้งหมด
                เสื้อผ้า                    หมายถึง                                เครื่องนุ่งห่ม
๓.  มีความหมายแคบลง  เช่น
                                หยิบยืม                  หมายถึง                                ยืม
                                เงียบเชียบ             หมายถึง                                เงียบ
                                เอร็ดอร่อย             หมายถึง                                อร่อย
๔.  มีความหมายเชิงอุปมา เช่น
                                คับแคบ  อุ้มชู ถากถาง หนักแน่น ดูดดื่ม  
              
           


    



















คำประสม



คำประสม คือ คำที่สร้างจากคำมูลตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไป มารวมกันเป็นคำใหม่ เกิดความหมายใหม่ และคำที่นำมารวมกันนั้นอาจเป็นคำไทยแท้หรือคำที่มาจากภาษาต่างประเทศก็ได้ แต่ต้องมีความหมายที่ต่างกัน เมื่อรวมกันเป็นคำใหม่แล้ว คำมูลที่มีความหมายหลักจะอยู่หน้า คำมูลที่เป็นส่วนขยายจะอยู่หลัง

คำประสมประกอบด้วยคำชนิดใดก็ได้ อาจเป็นคำนาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ หรือบุพบท และอาจทำหน้าที่ได้ต่างๆ เช่น ทำหน้าที่อย่างคำนาม สรรพนาม กริยา หรือวิเศษณ์

คำที่สร้างขึ้นใหม่ในปัจจุบันส่วนมากเป็นคำประสม เช่น สะพานแขวน เรือหางยาว บานเลื่อน โทรศัพท์เคลื่อนที่ เกียร์อัตโนมัติ หัวคะแนน กินเปล่า ใต้โต๊ะ
ลักษณะสำคัญของคำประสม
คำประสมมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
๑.  เกิดจากคำมูลตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไป เช่น
                ดาวเทียม สะพานลอย ผ้าห่มนอน ภูเขาไฟ พระเจ้าอยู่หัว
๒. เกิดจากคำมูลที่มาจากภาษาใดก็ได้  เช่น
             คำไทยแท้        ม้าเร็ว     ลูกน้ำ    ทางด่วน    เรือพ่วง    แม่ครัว
             คำไทยแท้จากคำที่มาจากภาษาอื่น    การเล่น     ความมัธยัสถ์    ราชวัง    ผลไม้    พลเรือน
             คำมาจากภาษาอื่น        การศึกษา      การแพทย์     ผลผลิต     พลตรี     เคมีภัณฑ์     เทคนิคการแพทย์
๓. เกิดจากคำมูลที่มีความหมายต่างกัน    เมื่อเป็นคำประสมจะเกิดความหมายใหม่ต่างกับคำมูลเดิมแต่ยังมีเค้ามูลเดิมเช่น
              ดาวเทียม  หมายถึง   ยานชนิดหนึ่งโคจรไปในอวกาศได้อย่างดาวแต่ไม่ใช่ดาวจริงๆ
               ม้าเร็ว       หมายถึง    คนที่ขี่ม้าซึ่งทำหน้าที่เดินข่าวสืบเหตุการณ์ของข้าศึกแล้วรีบแจ้งแก่กองทัพ
                ลูกน้ำ หมายถึง ลูกของยุงซึ่งอาศัยอยู่ในน้ำ
                คำที่เกิดจากคำมูลที่ยังคงความหมายเดิมไว้ทั้งหมดไม่ใช่คำประสม อาจเป็นวลีหรือประโยคก็ได้ เช่น
                แกงร้อนต้องกินตอนกำลังร้อน แกงร้อน เป็นคำประสม หมายถึง แกงชนิดหนึ่ง
                แกงร้อนเกินไปจนกินไม่ได้      แกงร้อน  เป็นประโยค
                แกงร้อน ๆ กินลวกปลา              แกงร้อนๆ เป็นวลี
๔.  เกิดจากคำตั้งซึ่งเป็นคำย่อของกลุ่มคำที่มีความหมายกว้าง เช่น ชาว ผู้ นัก ช่าง หมอ เครื่อง ของ ที่ การ ความ ดังตัวอย่าง ชาวนา ผู้ใหญ่ นักเรียน ช่างไฟฟ้า หมอลำ เครื่องจักร ของเล่น ที่อยู่ การเรียน ความเห็น
๕.  เกิดจากคำมูลที่มีความหมายหลัก หรือที่เรียกว่า คำตั้ง อยู่ต้น คำมูลที่เป็นคำขยายอยู่หลัง

คำประสม

คำตั้ง

คำขยาย

การศึกษา

การ

ศึกษา

ประธานสภา

ประธาน

สภา

ผลผลิต

ผล

ผลิต
คำประสมบางคำประกอบด้วยคำขยายอยู่หน้าคำตั้ง คำประสมประเภทนี้ส่วนมากประกอบด้วย คำขยาย ซึ่งมาจากภาษาบาบีหรือสันสกฤต ส่วนคำตั้งเป็นคำไทยหรือภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาบาลีหรือสันสกฤต เช่น

คำประสม

คำขยาย

คำสั่ง

พระแสง

พระ

แสง (คำไทย)

พระเก้าอี้

พระ

เก้าอี้ (คำจีน)

พระธำมรงค์

พระ

ธำมรงค์ (คำเขมร)

พระโธรน

พระ

โธรน (คำอังกฤษ)

ราชวัง

ราช

วัง (คำไทย)

พระราชดำรัส

พระราช

ดำรัช (คำเขมร)
๖.  เกิดจากคำมูลระหว่างคำไทยกับคำไทย หรือคำไทยกับคำภาษาต่างประเทศ และทำหน้าที่เป็นคำชนิดต่างๆ เช่น ทำหน้าที่เป็นนาม  สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ หรือบุพบท เช่น

คำประสม

ชนิดของคำ

คำไทยกับคำไทย

คำไทยกับคำภาษาต่างประเทศ


ครอบครัว หัวใจ แปรงสีฟัน ยาดับกลิ่น

รถไฟ น้ำซุป เข็มทิศ ผู้พิพากษา โซดาไฟ

คำนาม

ใต้เท้า กระหม่อมฉัน

พ่อคุณ ข้าพระพุทธเจ้า ใต้ฝ่าพระบาท

คำสรรพนาม

จับจอง กันท่า เข้าใจ ยินดี

ขอโทษ ก่อการ ถ่ายรูป สวดมนต์

คำกิริยา

น่ารัก ใจดี น่าเอ็นดี ขี้ริ้ว

ขี้เกียจ ใจบุญ

คำวิเศษณ์

จนกระทั่ง ตั้งแต่ ต่อเมื่อ


คำบุพบท

เพราะฉะนั้น มิฉะนั้น

เพราะเหตุว่า

คำสันธาน

ตายละวา.

พุทโธ่เอ๋ย

คำอุทาน
 วิธีสร้างคำประสม
คำประสมมีวิธีสร้างคำได้ต่างๆ ดังนี้
๑.  คำตั้งเป็นนาม ทำหน้าที่อย่างนาม
                ๑.  คำขยายเป็นนามหรือสรรพนาม เช่น พ่อบ้าน แม่ครัว ชาวบ้าน ไฟฟ้า พระคุณท่าน เกล้ากระหม่อม หม่อมฉัน
                ๒.  คำขยายเป็นวิเศษณ์ เช่น มดแดง ถั่วเขียว ผู้ดี บ้านนอก นางใน
                ๓.  คำขยายกริยา เช่น สมุดพก ของใช้ แบบเรียน ผ้าเช็ดหน้า แปรงสีฟัน
         ๒.  คำตั้งเป็นกิริยา ทำหน้าที่อย่างกิริยา
                ๑.  คำขยายเป็นนำ เช่น กินใจ กินตัว  กินลม เข้าใจ เข้าเนื้อ เข้าฝัก จับใจ จับตา จับยาม
                ๒.  คำขยายเป็นกิริยา เช่น ท่องจำ ค้นคว้า ตื่นเต้น ปกครอง ล่วงรู้
                ๓.  คำขยายเป็นวิเศษณ์ เช่น งอกงาม วางโต อวดดี เดือดร้อน ตกต่ำ เป็นกลาง กินนอก กินใน
๓.  คำตั้งเป็นวิเศษณ์ ทำหน้าที่อย่างวิเศษณ์
                ๑.  คำขยายเป็นนาม เช่น หลายใจ สองหัว สามเกลอ สามง่าม สามตา สามขุม
                ๒.  คำขยายเป็นวิเศษณ์ เช่น ดำแดง อ่อนหวาน เขียวหวาน (แกง,ส้ม) สุกดิบ (วัน) 
๔.  คำตั้งเป็นบุพบท ทำหน้าที่อย่างงบุพบท
                ๑.  คำขยายเป็นนาม เช่น กลางบ้าน (ยา) ข้างถนน นอกคอก (ลูก) ในที ซึ่งหน้า ต่อหน้า ใต้เท้า
                            ๒.  คำขยายเป็นกิริยา เช่น ตามมีตามเกิด