วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556

คำประสม



คำประสม คือ คำที่สร้างจากคำมูลตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไป มารวมกันเป็นคำใหม่ เกิดความหมายใหม่ และคำที่นำมารวมกันนั้นอาจเป็นคำไทยแท้หรือคำที่มาจากภาษาต่างประเทศก็ได้ แต่ต้องมีความหมายที่ต่างกัน เมื่อรวมกันเป็นคำใหม่แล้ว คำมูลที่มีความหมายหลักจะอยู่หน้า คำมูลที่เป็นส่วนขยายจะอยู่หลัง

คำประสมประกอบด้วยคำชนิดใดก็ได้ อาจเป็นคำนาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ หรือบุพบท และอาจทำหน้าที่ได้ต่างๆ เช่น ทำหน้าที่อย่างคำนาม สรรพนาม กริยา หรือวิเศษณ์

คำที่สร้างขึ้นใหม่ในปัจจุบันส่วนมากเป็นคำประสม เช่น สะพานแขวน เรือหางยาว บานเลื่อน โทรศัพท์เคลื่อนที่ เกียร์อัตโนมัติ หัวคะแนน กินเปล่า ใต้โต๊ะ
ลักษณะสำคัญของคำประสม
คำประสมมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
๑.  เกิดจากคำมูลตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไป เช่น
                ดาวเทียม สะพานลอย ผ้าห่มนอน ภูเขาไฟ พระเจ้าอยู่หัว
๒. เกิดจากคำมูลที่มาจากภาษาใดก็ได้  เช่น
             คำไทยแท้        ม้าเร็ว     ลูกน้ำ    ทางด่วน    เรือพ่วง    แม่ครัว
             คำไทยแท้จากคำที่มาจากภาษาอื่น    การเล่น     ความมัธยัสถ์    ราชวัง    ผลไม้    พลเรือน
             คำมาจากภาษาอื่น        การศึกษา      การแพทย์     ผลผลิต     พลตรี     เคมีภัณฑ์     เทคนิคการแพทย์
๓. เกิดจากคำมูลที่มีความหมายต่างกัน    เมื่อเป็นคำประสมจะเกิดความหมายใหม่ต่างกับคำมูลเดิมแต่ยังมีเค้ามูลเดิมเช่น
              ดาวเทียม  หมายถึง   ยานชนิดหนึ่งโคจรไปในอวกาศได้อย่างดาวแต่ไม่ใช่ดาวจริงๆ
               ม้าเร็ว       หมายถึง    คนที่ขี่ม้าซึ่งทำหน้าที่เดินข่าวสืบเหตุการณ์ของข้าศึกแล้วรีบแจ้งแก่กองทัพ
                ลูกน้ำ หมายถึง ลูกของยุงซึ่งอาศัยอยู่ในน้ำ
                คำที่เกิดจากคำมูลที่ยังคงความหมายเดิมไว้ทั้งหมดไม่ใช่คำประสม อาจเป็นวลีหรือประโยคก็ได้ เช่น
                แกงร้อนต้องกินตอนกำลังร้อน แกงร้อน เป็นคำประสม หมายถึง แกงชนิดหนึ่ง
                แกงร้อนเกินไปจนกินไม่ได้      แกงร้อน  เป็นประโยค
                แกงร้อน ๆ กินลวกปลา              แกงร้อนๆ เป็นวลี
๔.  เกิดจากคำตั้งซึ่งเป็นคำย่อของกลุ่มคำที่มีความหมายกว้าง เช่น ชาว ผู้ นัก ช่าง หมอ เครื่อง ของ ที่ การ ความ ดังตัวอย่าง ชาวนา ผู้ใหญ่ นักเรียน ช่างไฟฟ้า หมอลำ เครื่องจักร ของเล่น ที่อยู่ การเรียน ความเห็น
๕.  เกิดจากคำมูลที่มีความหมายหลัก หรือที่เรียกว่า คำตั้ง อยู่ต้น คำมูลที่เป็นคำขยายอยู่หลัง

คำประสม

คำตั้ง

คำขยาย

การศึกษา

การ

ศึกษา

ประธานสภา

ประธาน

สภา

ผลผลิต

ผล

ผลิต
คำประสมบางคำประกอบด้วยคำขยายอยู่หน้าคำตั้ง คำประสมประเภทนี้ส่วนมากประกอบด้วย คำขยาย ซึ่งมาจากภาษาบาบีหรือสันสกฤต ส่วนคำตั้งเป็นคำไทยหรือภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาบาลีหรือสันสกฤต เช่น

คำประสม

คำขยาย

คำสั่ง

พระแสง

พระ

แสง (คำไทย)

พระเก้าอี้

พระ

เก้าอี้ (คำจีน)

พระธำมรงค์

พระ

ธำมรงค์ (คำเขมร)

พระโธรน

พระ

โธรน (คำอังกฤษ)

ราชวัง

ราช

วัง (คำไทย)

พระราชดำรัส

พระราช

ดำรัช (คำเขมร)
๖.  เกิดจากคำมูลระหว่างคำไทยกับคำไทย หรือคำไทยกับคำภาษาต่างประเทศ และทำหน้าที่เป็นคำชนิดต่างๆ เช่น ทำหน้าที่เป็นนาม  สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ หรือบุพบท เช่น

คำประสม

ชนิดของคำ

คำไทยกับคำไทย

คำไทยกับคำภาษาต่างประเทศ


ครอบครัว หัวใจ แปรงสีฟัน ยาดับกลิ่น

รถไฟ น้ำซุป เข็มทิศ ผู้พิพากษา โซดาไฟ

คำนาม

ใต้เท้า กระหม่อมฉัน

พ่อคุณ ข้าพระพุทธเจ้า ใต้ฝ่าพระบาท

คำสรรพนาม

จับจอง กันท่า เข้าใจ ยินดี

ขอโทษ ก่อการ ถ่ายรูป สวดมนต์

คำกิริยา

น่ารัก ใจดี น่าเอ็นดี ขี้ริ้ว

ขี้เกียจ ใจบุญ

คำวิเศษณ์

จนกระทั่ง ตั้งแต่ ต่อเมื่อ


คำบุพบท

เพราะฉะนั้น มิฉะนั้น

เพราะเหตุว่า

คำสันธาน

ตายละวา.

พุทโธ่เอ๋ย

คำอุทาน
 วิธีสร้างคำประสม
คำประสมมีวิธีสร้างคำได้ต่างๆ ดังนี้
๑.  คำตั้งเป็นนาม ทำหน้าที่อย่างนาม
                ๑.  คำขยายเป็นนามหรือสรรพนาม เช่น พ่อบ้าน แม่ครัว ชาวบ้าน ไฟฟ้า พระคุณท่าน เกล้ากระหม่อม หม่อมฉัน
                ๒.  คำขยายเป็นวิเศษณ์ เช่น มดแดง ถั่วเขียว ผู้ดี บ้านนอก นางใน
                ๓.  คำขยายกริยา เช่น สมุดพก ของใช้ แบบเรียน ผ้าเช็ดหน้า แปรงสีฟัน
         ๒.  คำตั้งเป็นกิริยา ทำหน้าที่อย่างกิริยา
                ๑.  คำขยายเป็นนำ เช่น กินใจ กินตัว  กินลม เข้าใจ เข้าเนื้อ เข้าฝัก จับใจ จับตา จับยาม
                ๒.  คำขยายเป็นกิริยา เช่น ท่องจำ ค้นคว้า ตื่นเต้น ปกครอง ล่วงรู้
                ๓.  คำขยายเป็นวิเศษณ์ เช่น งอกงาม วางโต อวดดี เดือดร้อน ตกต่ำ เป็นกลาง กินนอก กินใน
๓.  คำตั้งเป็นวิเศษณ์ ทำหน้าที่อย่างวิเศษณ์
                ๑.  คำขยายเป็นนาม เช่น หลายใจ สองหัว สามเกลอ สามง่าม สามตา สามขุม
                ๒.  คำขยายเป็นวิเศษณ์ เช่น ดำแดง อ่อนหวาน เขียวหวาน (แกง,ส้ม) สุกดิบ (วัน) 
๔.  คำตั้งเป็นบุพบท ทำหน้าที่อย่างงบุพบท
                ๑.  คำขยายเป็นนาม เช่น กลางบ้าน (ยา) ข้างถนน นอกคอก (ลูก) ในที ซึ่งหน้า ต่อหน้า ใต้เท้า
                            ๒.  คำขยายเป็นกิริยา เช่น ตามมีตามเกิด



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น