วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556

คำซ้ำ

         คำซ้ำ คือ คำที่สร้างจากคำมูล โดยนำคำคำเดียวกันมากล่าวซ้ำ มีความหมายเปลี่ยนแปลงไป อาจเน้นหนักขึ้น เบาลง หรืออาจเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น

ลักษณะของคำซ้ำ

                คำซ้ำมีลักษณะสำคัญ ดังนี้

                ๑.  เป็นคำชนิดใดหรือทำหน้าที่ใดก็ได้ เช่น นาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์ เป็นต้น

                ๒.  นำคำหนึ่งๆ มาซ้ำกันสองครั้ง เช่น เด็กๆ เล็กๆ เล่นๆ

                ๓.  นำคำซ้อนมาแยกซ้ำกัน เช่น

                                ลูบคลำ                  เป็น        ลูบๆคลำๆ

                                เปรอะเปื้อน           เป็น        เปรอะๆ เปื้อน

                                นุ่มนิ่ม                    เป็น        อดๆอยากๆ






               ๔.  นำคำซ้ำมาประสมกัน เช่น


                                งูๆ ปลาๆ              ไปๆมาๆ

                                ชั่วๆดีๆ                  ลมๆแล้งๆ

                ๕.  นำคำซ้ำมาเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ เพื่อเน้นความหมาย เช่น ดี๊ดี เบื๊อเบื่อ ดีใจ๊ดีใจ
ความหมายของคำซ้ำ


การซ้ำคำทำให้เกิดความหมายแตกต่างไปจากคำเดิม ดังนี้

                ๑.  บอกพหูพจน์  คำเดิมอาจเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์  กลายเป็นพหูพจน์อย่างเดียว เช่น

                                เขาเล่นกับเพื่อน                  (เอกพจน์หรือพหูพจน์)
                                เขาเล่นกับเพื่อนๆ               (พหูพจน์)

                                พี่อยู่ในห้อง                          (เอกพจน์หรือพหูพจน์)

                                พี่ๆ อยู่ในห้อง                      (พหูพจน์)

                เด็กกำลังเล่นฟุตบอล              (เอกพจน์หรือพหูพจน์)

                เด็กๆ กำลังเล่นฟุตบอล           (พหูพจน์)
  ๒.  บอกความเน้นหนัก  วิเศษณ์บางคำเมื่อเป็นคำซ้ำมีความหมายเน้นหนักกว่าเดิม โดยมากเปลี่ยนเสียงคำแรกเป็นเสียงตรี

                                สวยๆ                     เป็น                        ซ้วยสวย

                                ดีๆ                          เป็น                        ดี๊ดี

                                ใหญ่ๆ                    เป็น                        ไย้ใหญ่

                                แดงๆ                     เป็น                        แด๊งแดง

                                เค็มๆ                      เป็น                        เค้มเค็ม

๓.  บอกความไม่เน้นหนัก  วิเศษณ์บางคำเมื่อเป็นคำซ้ำความหมายคลายความเน้นหนักกว่าเดิมหรือไม่จงใจ คำซ้ำประเภทนี้ไม่เปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ของคำแรก เช่น

                                ใกล้ (ใกล้จริง)                      ใกล้ๆ (ไม่ใกล้ทีเดียว)            

                                สวย (สวยจริง)                     สวยๆ (ไม่สวยที่เดียว)

                                ดี (ดีจริง)                               ดีๆ (ไม่ดีทีเดียว)

                                ใหญ่ (ใหญ่จริง)                  ใหญ่ๆ (ไม่ใหญ่ที่เดียว)

                                อยู่ให้เขาเห็นหน้า (อยู่จริง) อยู่ๆ (อยู่โดยไม่จงใจ)

                                พอเห็นอยู่ (เห็นจริง)         เห็นๆ (เห็นไม่ชัดเจน)

๔.  บอกคำสั่ง  วิเศษณ์ที่เป็นคำซ้ำเมื่อประกอบกริยา จะเน้นความและบอกคำสั่ง เช่น

                                อยู่เงียบ (วลี)                        อยู่เงียบๆ (ประโยคคำสั่ง)

                                พูดดัง (วลี)                           พูดดังๆ (ประโยคคำสั่ง)

                                ทำดี (วลี)                               ทำดีๆ (ประโยคคำสั่ง)

                                เดินเบา (วลี)                         เดินเบาๆ (ประโยคคำสั่ง)

                                ออกห่าง (วลี)                       ออกห่างงๆ (ประโยคคำสั่ง)

๕.  เปลี่ยนความหมายใหม่  คำซ้ำบางคำเปลี่ยนความหมายใหม่โดยไม่มีเค้าของความหมายเดิม เช่น

                                กล้วย ๆ (ง่าย)                      น้องๆ (เกือบ,ใกล้,คล้าย)

                                หมูๆ (ง่าย)                           ไล่ (ใกล้เคียง)

                                พื้นๆ (ธรรมดา)                   พลางๆ (ช่วงระหว่างเวลาที่ยังไม่พร้อมหรือยังไม่ถึงกำหนด)

                                ไปๆ (นานไป)                     ไปๆ มาๆ (ในที่สุด)

                                งูๆ ปลาๆ (รู้เพียงเล็กๆ น้อยๆ)        ดีๆ ชั่วๆ (อย่างไรก็ตาม)

๖.  แยกคำซ้อมาเป็นคำซ้ำ  คำซ้ำบางคำเกิดจากการแยกคำซ้อนมาเป็นซ้ำกัน เช่น

                                จืดชืด                     เป็น        จืดๆ ชืดๆ

                                พี้น้อง                    เป็น        พี่ๆ น้องๆ

                                จริงจัง                    เป็น       จริงๆ  จังๆ

     

หมายเหตุ  คำที่ออกเสียงซ้ำกันบางคำไม่ชาคำซ้ำ เพราะไม่ได้เกิดคำขึ้นใหม่และความหมายก็ไม่เปลี่ยนไป ในกรณีเช่นนี้ใช้ไม้ยมกแทนไม่ได้ เช่น
                เขาเอาแต่เล่นเล่นจนลืมกินข้าวกินปลา          เล่นเล่น  ไม่ใช่คำซ้ำ
                เขาเอาแต่ซนซนตลอดวัน                             ซนซน  ไม่ใช่คำซ้ำ
                เขาเอาแต่เล่นๆ ซนๆ ไปวันหนึ่งๆ                  เล่นๆ ซนๆ เป็นคำซ้ำ
                เราควรเก็บของไว้เป็นที่ๆ                               ที่ๆ เป็นคำซ้ำ
                เขาออกกำลังกายทุกวันวันละครึ่งชั่วโมง       วันวัน ไม่ใช้คำซ้ำ
                เขาอกกำลังกายเป็นวันๆ                                 วันๆ เป็นคำซ้ำ
                คำบางคำเป็นคำซ้ำได้อย่างเดียว เช่น โทงๆ ยองๆ หยิมๆ หยกๆ เหนาะๆ
                คำมูลบางคำมีเสียงพยางค์ซ้ำกันแต่ไม่ใช่คำซ้ำ เช่น จะจะ  ชะชะ  ชิชิ  นานา  ไยไย
   
   สรุป
                คำที่ใช้ในภาษาไทย   มีลักษณะและวิธีการสร้างคำหลายแบบ ได้แก่ คำที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะ คือ คำมูล และคำที่สร้างขึ้นใหม่จากคำมูล เช่น คำประสม คำซ้ำ คำซ้อน คำสมาส เป็นต้น การที่เราสร้างคำเพิ่มขึ้นด้วยวิธีการต่างๆ เหล่านี้ ก็เพื่อให้มีถ้อยคำใช้ในภาไทยมากขึ้น









               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น