วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556

คำมูล


คำมูล คือ คำที่มีความหมายชัดเจนในตัวเอง อาจเป็นคำไทยแท้แต่ดั้งเดิมหรือคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศก็ได้

                คำมูลซึ่งเป็นคำที่มีแต่เดิม ไม่อาจกำหนดได้ว่าเกิดขึ้นเมื่อไร แต่คำมูลที่เกิดขึ้นใหม่ส่วนมากเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศโดยตรงหรือเปลี่ยนรูป เสียง หรือความหมายมาจากภาษาต่างประเทศ เช่น
คำมูลที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศโดยตรง

          บาลี-สันสกฤต เช่น บิดา มารดา เชษฐา ปฐพี อุทก อายุ อัคคี

          เขมร เช่น
                    ขนง (คิ้ว) ขนอง (หลัง) ศก (ผม) ได (มือ) ผกา (ดอกไม้) แข (ดวงเดือน) ไถว (ตะวัน)

           อังกฤษ เช่น ก๊อก การ์ตูน ชอล์ก เช็ค เซลล์ เต็นท์ ลิฟต์

คำมูลที่เปลี่ยนรูป เสียง หรือความหมายมาจากภาษาต่างประเทศ เช่น

                เซ็น  เปลี่ยนรูปและเสียงมาจากคำ sign ในภาษาอังกฤษ

                ปัศตัน  เปลี่ยนรูปและเสียงมาจาก pistol ในภาษาอังกฤษ

                ประปา  เป็นคำสันสกฤต ความหมายเดิมหมายถึง น้ำพุ บ่อน้ำบาดาล บัญญัติใช้ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

                สถานี  เปลี่ยนรูปแลละเสียงมาจากคำสันสกฤต สถาน บัญญัติใช้ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนหน้านั้นใช้ ในความหมายของคำ station ในภาษาอังกฤษ



คำมูลอาจเป็นคำพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้
๑.  คำมูลพยางค์เดียว  อาจเป็นคำไทยแท้หรือคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ เช่น
คำไทยแท้ เช่น พ่อแม่ หูตา ลิ้น ลม ฟ้า ถ้วย ชาม มีด จอบ กิน นอน นั่ง ยืน หวาน นิ่ม หอม เลว เก่า
คำยืมมาจากภาษาต่างประเทศ เช่น
ภาษาจีน เช่น เกี๊ยว โต๊ะ เซ้ง อั๊ว ลื้อ ก๊ก
ภาษาบาลี-สันสกฤต เช่น สุข บุญ กรรม โกรธ
ภาษาอังกฤษ เช่น ไมล์ กอล์ฟ ลิตร ชอล์ก ฟรี
๒.  คำมูลหลายพยางค์ อาจประกอบด้วยพยางค์ที่ไม่มีความหมายทั้งหมด หรือมีความหมายเพียงบางพยางค์ หรือประกอบด้วยพยางค์ที่มีความหมายทุกพยางค์ แต่ความหมายของแต่ละพยางค์ไม่มีเค้าความหมายของคำมูลนั้นๆ
คำมูลที่ประกอบด้วยพยางค์ที่ไมมีความหมาย เช่น จิงโจ้ ไฉไล อะคร้าว (ภูมิใจ) อินัง
คำมูลที่ประกอบด้วยพยางค์ที่มีความหมายบางพยางค์ เช่น คะนึง จิปาถะ เสเพ พยางค์ นึง จิ เพล เป็นพยางค์ที่ไม่มีความหมาย
คำมูลที่ประกอบด้วยพยางค์ที่มีความหมายทุกพยางค์ เช่น กะทันหัน ชมพู่ อาละวาด
แต่อย่างไรก็ดี ความหมายของแต่ละพยางค์ที่ประกอบเป็นคำมูลไม่มีความสัมพันธ์กับความหมายของคำมูลนั้นๆ เช่น พยางค์ คะ ปา ถะ เส กะ ทัน หัน ชม พู่ อา ละ วาด  ต่างไม่มีเค้าความหมายของคำ คะนึง จิปาถะ เสเพล กะทันหัน ชมพู่ อาละวาด อยู่เลย
            คำมูลที่ใช้ในภาษาไทย ส่วนใหญ่เป็นคำพื้นฐานของภาษา คือ ใช้เรียกสิ่งของและบอกลักษณะอาการทั่วๆ ไปจำเป็นในชีวิตประจะวันซึ่งจำกัดความหมานอยู่ในวงแคบจึงจำเป็นต้องสร้างคำใหม่ เพื่อให้มีคำใช้มากขึ้น คำใหม่ที่สร้างขึ้นนั้นมักจะสร้างโดยใช้คำมูลที่มีอยู่แล้วมาประกอบกันเข้า ในการเรียกชื่อของใหม่ที่ยังไม่เคยรู้รักมาก่อน เช่น ซึ่งอยู่ในสถานะของแข็งมีความเย็นจัดก็คิดคำใหม่ขึ้นใช้เรียกโดยนำคำมูลที่รู้จักกันดีอยู่แล้วคือ น้ำ กับ แข็ง มาประกอบกันเป็นน้ำแข็งเมื่อเกิดพลังงานอย่างหนึ่งซึ่งให้แสงสว่างและส่าวงและความร้อนคล้ายฟ้าแลบ ฟ้าผ่า ก็นำคำมูล ไฟ กับ ฟ้า มาประสมกันเป็น ไฟฟ้า
ในปัจจุบันคำสร้างใหม่ทำนองนี้มีมาก เช่น สะพานลอย บันไดเลื่อน ทางด่วน อาคารชุด อาหารเสริม ผงซักฟอก
การนำคำมูลที่ใช้อยู่แล้วในภาษามาสร้างคำใหม่มีวิธีการและลักษณะต่างๆ กัน ดังนี้
๑.  คำประสม                                                                     
๒.  คำซ้อน
๓.  คำซ้ำ













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น